เมนู

ก็ภิกษุใด นำออกซึ่งเชิงรองหรือก้อนเส้าแห่งหม้อ ด้วยไถยจิตว่า
หม้อจักกลิ้งไป เมื่อหม้อกลิ้งไป เป็นปาราชิก. อนึ่ง เมื่อภิกษุรู้ความที่เขาจะ
รินน้ำมันใส่ ทำความร้าวหรือช่องแห่งหม้อเปล่าไว้เป็นภัณฑไทย โดยประมาณ
แห่งน้ำมันที่รั่วออกในภายหลัง. แต่ในอรรถกถาทั้งหลาย บางแห่งท่านเขียน
ไว้ว่า เป็นปาราชิก ดังนี้ก็มี. นั่นเขียนไว้ด้วยความพลั้งพลาด. ภิกษุทำไม้
หรือหินให้เป็นอันตนผูกไว้ไม่ดี หรือตั้งไม้หรือหินให้เป็นของอันตนตั้งไว้ไม่ดี
ในเบื้องบนแห่งหม้อเต็ม ด้วยไถยจิตว่า มันจักตกไปทำลาย น้ำมันจักไหล
ออกจากหม้อนั้น. ไม้หรือหินนั้น จะต้องตกอย่างแน่นอน เมื่อภิกษุทำอย่างนั้น
เป็นปาราชิกในขณะทำเสร็จ. ทำอย่างนั้น ในเบื้องบนแห่งหม้อเปล่า ไม้หรือ
หินนั้นตกไปทำลายในกาลที่หม้อนั้นเต็มในภายหลังเป็นภัณฑไทย. จริงอยู่ ใน
ฐานะเช่นนี้ยังไม่เป็นปาราชิกในเบื้องต้นทีเดียว เพราะประโยคอันภิกษุทำแล้ว
ในกาลที่ของไม่มี. แต่เป็นภัณฑไทย เพราะทำของให้เสีย. เมื่อเขาให้นำมา
ให้ ไม่ให้เขาเป็นปาราชิก เพราะการทอดธุระแห่งเจ้าของทั้งหลาย. ภิกษุ
ทำเหมืองให้ตรงด้วยไถยจิตว่า หม้อจักกลิ้งไป หรือน้ำจักยังน้ำมันให้ล้นขึ้น
หม้อกลิ้งไปก็ตาม น้ำมันล้นขึ้นก็ตาม เป็นปาราชิกในเวลาที่ทำให้ตรง. จริงอยู่
ประโยคเช่นนี้ ๆ ถึงความสงเคราะห์ได้ในบุพประโยคาวหาร. เมื่อเหมืองแห้ง
อันภิกษุทำให้ตรงไว้แล้ว น้ำไหลมาทีหลัง หม้อกลิ้งไปก็ตาม น้ำมันล้นขึ้น
ก็ตาม, เป็นภัณฑไทย. เพราะเหตุไร ? เพราะไม่มีประโยค คือการให้เคลื่อน
จากฐาน. ลักษณะแห่งประโยค คือ การให้เคลื่อนจากฐานนั้น จักมีแจ้งใน
ของที่ตั้งอยู่ในเรือ.

[

อรรถาธิบาย คำว่า ภินฺทิตฺวา เป็นต้น

]
พึงทราบวินิจฉัยในบททั้งหลายมีบทว่า ตตฺเถว ภินฺทติ วา เป็นต้น
ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาดังนี้ก่อน.

บทว่า ทำลายก็ดี นั้น โดยอรรถว่า ทุบทำลายด้วยไม้ค้อน.
บทว่า เทก็ดี นั้น โดยอรรถว่าเทน้ำหรือทรายลงในน้ำมันล้นขึ้น.
บทว่า ยังไฟให้ไหม้ก็ดี นั้น โดยอรรถว่านำฟืนมาแล้วยังไฟให้ไหม้.
บทว่า ให้เป็นของบริโภคไม่ได้ นั้น โดยอรรถว่า ทำให้เป็น
ของพึงเคี้ยวไม่ได้ หรือพึงดื่มไม่ได้ คือ ยังอุจจาระหรือปัสสาวะ หรือยาพิษ
หรือของเดน หรือซากศพให้ตกลงไป.
บทว่า ต้องอาบัติทุกกฏ นั้น โดยอรรถว่า เป็นทุกกฏเพราะไม่มี
การให้เคลื่อนจากฐาน. ญาณพิเศษนี้ ชื่อว่า พุทธวิสัย. แม้จะเป็นทุกกฏ ก็จริง
แต่เมื่อเจ้าของให้นำมาให้ เป็นภัณฑไทย. ใน 4 บทนั้น สองบทเบื้องต้น
ไม่สม. เพราะสองบทนั้น เป็นลักษณะอันเดียวกันกับการทำความร้าวของหม้อ
และการทำเหมืองให้ตรง. ส่วนสองบทเบื้องหลัง แม้ยังวัตถุให้เคลื่อนจากฐาน
ก็อาจทำได้. เพราะฉะนั้น อาจารย์พวกหนึ่ง จึงกล่าววินิจฉัยในคำนี้ไว้อย่างนี้.
ได้ยินว่า ในอรรถกถา คำว่า เป็นทุกกฏ เพราะไม่มีการให้เคลื่อน
จากฐาน นี้ ท่านกล่าวหมายเอาสองบทเบื้องหลัง. จริงอยู่ ภิกษุไม่ทำการให้
เคลื่อนจาก ฐานเลย พึงเผาเสียก็ดี พึงทำไห้เป็นของใช้สอยไม่ได้ก็ดี ด้วย
ไถยจิตหรือเพราะต้องการให้การเสียหาย, แต่ในสองบทเบื้องต้น เมื่อภิกษุ
ทำลายหรือเทโดยนัยที่กล่าวแล้ว การให้เคลื่อนจากฐาน ย่อมมีได้ ; เพราะ
ฉะนั้น เมื่อทำอย่างนั้น เป็นภัณฑไทย เพราะใคร่นะให้เสียหาย เป็นปาราชิก
ด้วยไถยจิต ดังนี้แล.
หากมีผู้แย้งว่า คำนั้น ไม่ชอบ เพราะท่านกล่าวไว้ในพระบาลีว่า
เป็นทุกกฏ.

พึงเฉลยว่า จะเป็นคำไม่ชอบหามิได้ เพราะมีอรรถที่จะพึงถือเอาโดย
ประการอื่น.
จริงอยู่ ในฝักฝ่ายแห่งไถยจิตในพระบาลี อาจารย์พวกหนึ่งกล่าว
อย่างนี้ว่า บทว่า ทำลายก็ดี นั้น โดยอรรถว่า เจือด้วยน้ำ บทว่า เท ก็ดี
นั้น โดยอรรถว่า เท ทราย หรืออุจจาระ หรือปัสสาวะลงใสเภสัชมีน้ำมัน
เป็นต้นนั้น ดังนี้. ส่วนสาระในคำนี้ ดังต่อไปนี้ :- ภิกษุไม่ประสงค์จะให้เคลื่อน
จากฐานเลย ทำลายอย่างเดียว ดุจภิกษุเผาหญ้าในวินีตวัตถุ. แต่เภสัชมีน้ำมัน
เป็นต้นย่อมไหลออกได้ เพราะหม้อทำลายแล้ว. ก็หรือว่า ในเภสัชเหล่านั้น
เภสัชใดเป็นของแห้ง เภสัชนั้น ยังยึดกันตั้งอยู่ได้เทียว. อนึ่ง ภิกษุไม่ประสงค์
จะเทน้ำมันเลย เทน้ำ หรือทราย เป็นต้น ลงในหม้อนั้นอย่างเดียว. แต่
น้ำมันก็เป็นอันภิกษุนั้นเท เพราะได้เทน้ำหรือทรายเป็นต้นนั้นลงไป. เพราะ
ฉะนั้น ด้วยอำนาจโวหาร ท่านจึงเรียกว่า ทำลายก็ดี เทก็ดี. ผู้ศึกษาพึงถือ
เอาใจความแห่งบทเหล่านี้ ดังกล่าวมาฉะนี้.
ส่วนในฝ่ายแห่งความเป็นผู้ใคร่จะให้ฉิบหาย เป็นทุกกฏ ถูกต้องแม้
โดยประการนอกนี้. จริงอยู่ เมื่อท่านกล่าวอธิบายความอยู่อย่างนี้ บาลีและ
อรรถกถา ย่อมเป็นอันท่านสอบสวน กล่าวดีแล้วโดยเบื้องต้นและเบื้องปลาย.
แต่ไม่ควรทำความพอใจแม้ด้วยทำอธิบายเพียงเท่านี้ พึงเข้าไปนั่งใกล้อาจารย์
ทั้งหลายแล้วทราบข้อวินิจฉัยแล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในแผ่นดิน

กถาว่าด้วยทรัพย์ที่อยู่บนบก


พึงทราบวินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่บนบก. สองบทว่า ถเล นิกฺขิตฺตํ
ความว่า ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาวางไว้บนพื้นดินก็ดี บนพื้นปราสาทและบนภูเขา
เป็นต้นแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งปกปิดหรือไม่ปกปิดก็ดี พึงทราบว่า ทรัพย์ที่ตั้ง
อยู่บนบก. ทรัพย์นั้น ถ้าเขาทำเป็นกองไว้ พึงตัดสินตามคำวินิจฉัยที่กล่าวไว้
ในการทำทรัพย์ให้อยู่ในภาชนะและการตัดกำเอาในภายในหม้อ. ถ้าทรัพย์นั้น
ติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน มียางรักและยางสนเป็นต้น พึงตัดสินตามคำวินิจฉัย
ที่กล่าวไว้ในน้ำผึ้งและน้ำอ้อยที่เคี่ยวสุกแล้ว. ถ้าทรัพย์เป็นของหนัก จะเป็น
แท่งโลหะก็ตาม งบน้ำอ้อยก็ตาม วัตถุมีน้ำมันน้ำผึ้งและเปรียงเป็นต้นก็ตาม
ซึ่งเนื่องด้วยภาระ พึงตัดสินตามคำวินิจฉัยที่กล่าวไว้ในการยังหม้อให้เคลื่อน
จากฐาน และพึงกำหนดความต่างของฐานแห่งสิ่งของเขาผูกไว้ด้วยโซ่. ส่วน
ภิกษุถือเอาวัตถุมีผ้าปาวารผ้าลาดพื้นและผ้าสาฎกเป็นต้นที่เขาปูลาดไว้ ฉุดมา
ตรงๆ เมื่อชายผ้าข้างโน้นล่วงเลยโอกาสที่ชายผ้าข้างนี้ถูกต้องไป เป็นปาราชิก.
ในทุก ๆ ทิศ ก็ควรกำหนดด้วยอาการอย่างนี้. ภิกษุห่อแล้วยกขึ้น เมื่อทำให้
ลอยไปในอากาศ เพียงปลายเส้นผม เป็นปาราชิก. ทำที่เหลือมีนัยดังกล่าว
แล้วนั่นเอง ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่อยู่บนบก